ประเพณีสวดด้าน

ความเป็นมา
ภาพ6

ในวันธรรมสวนะ พุทธศาสนิกชนจะมาทำบุญฟังธรรมกัน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ จึงมีชาวบ้านมาทำบุญกันมากเป็นพิเศษ สถานที่ที่จัดให้มีภิกษุสงฆ์มาเทศนา คือในวิหารคดหรือพระระเบียง ชาวนครศรีธรรมราช เรียกว่า ? ด้าน ? การเทศน์ของพระภิกษุสงฆ์จะมีด้านละหนึ่งธรรมาสน์เป็นอย่างน้อย
การไปฟังเทศน์ฟังธรรม ชาวบ้านจะต้องเตรียมตัวไปนั่งรอที่พระระเบียงก่อนที่พระสงฆ์จะไปถึง ในขณะที่นั่งรอ บางคนก็พูดคุยสนทนาเรื่องราวต่าง ๆ บางคนก็มีเรื่องราวมาบอกเล่าสู่กันฟัง บางคนนั่งอยู่เฉย ๆทำให้น่าเบื่อ ในที่สุดจึงเกิดความคิดเห็นพ้องกันว่าควรหาหนังสือมาสวดจนกว่าพระจะมาเทศน์ เพื่อจะได้ฟังกัน ได้ทั้งความเพลิดเพลินและความรู้เป็นคติสอนใจ จึงเกิดประเพณีสวดด้านขึ้น

ระยะเวลาดำเนินการ

การสวดด้านจะมีเฉพาะในวันพระหรือในวันธรรมสวนะ(ขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำ และขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ) เวลาก่อนเพล ก่อนพระสงฆ์จะขึ้นธรรมาสน์แสดงธรรมเทศนาให้พุทธศานิกชนฟังที่ระเบียงทั้งสี่ด้านในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

สาระสำคัญ

๑.ผู้ฟัง ได้ฟังสาระจากการสวดหรือการอ่านหนังสือ ได้ทั้งความรู้คติสอนใจ และความเพลินเพลิด ส่วนผู้สวดได้ประโยชน์จากการอ่านหนังสือนับเป็นภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดที่ช่วยให้คนรักการอ่านหนังสือและรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการฟังแก่เด็กนักเรียนได้
๒.ได้ทราบข่าวความเป็นไปของบ้านเมือง เพราะวัดเป็นศูนย์รวมของจิตใจ
๓.เกิดความรักความสามัคคีหมู่คณะที่ไปทำบุญวัดเดียวกันสร้างแบบอย่างให้แก่ลูกหลาน
๔.เป็นการอนุรักษ์วรรณกรรมของชาวนครศรีธรรมราชในฐานะปราชญ์ชาวบ้าน ทั้งทางด้านภาษาและวรรณกรรมมาเป็นเวลายาวนานสมควรแก่การส่งเสริมให้มีการพัฒนาวรรณกรรมท้องถิ่นไว้เป็นมรดกของท้องถิ่นที่มีคุณค่ายิ่ง

ประเพณีสวดด้าน การสวดหนังสือ มีความหมายถึงการอ่านหนังสือร้อยกรองโดยใช้สำเนียงภาษาพื้นเมือง อ่านออกเสียงเป็นทำนองตามบทร้อยกรอง ด้าน หมายถึง ด้านต่าง ๆ รอบของพระวิหารคด หรือพระระเบียงรอบพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งมี 4 ด้าน

พระด้าน หมายถึง พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารคดทั้งสี่ด้านมีจำนวนทั้งหมด 173 องค์ พระพุทธรูปเหล่านี้เรียกว่า พระด้าน

สวดด้าน หมายถึง การสวดหนังสือที่ระเบียงด้านต่าง ๆ ทั้งในวิหารคดและวิหารทับเกษตร ในส่วนที่ประดิษฐานธรรมาสน์สำหรับพระภิกษุสงฆ์นั่งเทศนาวันธรรมสวนะ แต่ตามนิสัยของชาวนครศรีธรรมราชชอบพูดคำสั้น ๆ จึงตัดคำออกเหลือเพียงสวดด้าน สวดด้านจึงเป็นประเพณีการอ่านหนังสือร้อยกรองประเภทนิทานนิยายของชาวนครศรีธรรมราช

ประวัติความเป็นมา ในวันธรรมสวนะ พุทธศาสนิกชนจะมักทำบุญฟังธรรมกัน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ จึงมีชาวบ้านมาทำบุญกันมากเป็นพิเศษ สถานที่ที่จัดให้ภิกษุสงฆ์มาเทศนา คือ ในวิหารคดหรือพระระเบียง ชาวนครศรีธรรมราช เรียกว่า “ด้าน” การเทศน์ของพระภิกษุสงฆ์จะมีด้านละหนึ่งธรรมาสน์เป็นอย่างน้อย

การไปฟังเทศน์ฟังธรรมชาวบ้านจะต้องเตรียมตัวไปนั่งรอที่พระระเบียงก่อนที่พระสงฆ์จะไปถึง ในขณะที่นั่งรอบางคนก็พูดคุยสนทนาเรื่องราวต่าง ๆ บางคนก็มีเรื่องราวมาบอกเล่าสู่กันฟัง บางคนนั่งอยู่เฉย ๆ ทำให้น่าเบื่อ ในที่สุดจึงเกิดความคิดเห็นพ้องกันว่าควรจะหาหนังสือมาสวดจนกว่าพระจะมาเทศน์ เพื่อจะได้ฟังกันได้ทั้งความเพลิดเพลิน และความรู้เป็นคติสอนใจ จึงเกิดประเพณีสวดด้านขึ้น

ระยะเวลา การสวดด้านจะมีเฉพาะในวันพระหรือวันธรรมสวนะ
(ขึ้นหรือแรม 8 ค่ำ และขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ) เวลาก่อนเพล ก่อนพระสงฆ์จะขึ้นธรรมาสน์แสดงธรรมเทศนาให้พุทธศาสนิกชนฟังที่พระระเบียงทั้ง 4 ด้านในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

การเตรียมการ

ลักษณะของผู้สวดด้าน ผู้สวดจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการอ่านออกเสียงอย่างยิ่ง ใช้ทำนองและสำเนียงภาษาถิ่นใต้โดยจะต้องรู้จักเน้นเสียงเอื้อนและเล่นลูกคอ เล่นท่าทางประกอบในตอนที่จำเป็น ใช้สีหน้าโยกตัวประกอบท่าทาง และต้องใช้กิริยาอื่น ๆ ตามที่ผู้สวดสามารถทำได้ ผู้สวดด้านมักจะมาจากบุคคลทีมีอาชีพต่าง ๆ หรือบุคคลที่เคยเป็นชาววัดมาก่อน เคยอ่านทำนองที่ฝึกฝนมาจากวัด เช่น นักเทศน์เก่า นักแหล่หมอทำขวัญนาค นักสวดมาลัย นายหนังตะลุง โนราเก่า เพลงบอก เป็นต้น คนสวดที่สวดได้ไพเราะ ผู้ฟังจะชื่นชมติดอกติดใจมาก ถึงขนาดคนเฒ่าคนแก่ที่ไม่รู้หนังสืออ่านไม่ออกเมื่อฟังสวดด้านแล้วสามารถจำบทกลอนในหนังสือเล่มที่ฟังนั้นได้ทุกบททุกตอนแทบตลอดทั้งเล่ม และจำได้หลาย ๆ เล่ม ดังนั้นคนสวดด้านเมื่อสวดเสร็จแล้วมักจะได้รับเงินรางวัลและได้รับการเลี้ยงดูทุกครั้งไป
การสวดด้านจะสวดทั้ง 4 ด้านของพระระเบียง ดังนั้นคนสวดด้านจะต้องพยายามแสดงความสามารถในการสวดมาก เพราะหากสวดไม่เป็นที่น่าพอใจของผู้ฟังจะทำให้คนเบื่อหน่าย ดังนั้นคนสวดแต่ละคนจึงต้องแสดงความสามารถในเชิงสวดให้ปรากฏด้วย
ลักษณะหนังสือที่ใช้สวดด้าน หนังสือที่เป็นที่นิยมของคนฟังส่วนใหญ่ มักเป็นหนังสือนิทานชาดกที่เขียนเป็นร้อยกรอง และหนังสือนิทานพื้นเมืองเรื่องต่าง ๆ ที่กวีพื้นเมืองแต่งขึ้น เรื่องที่เป็นที่นิยมได้แก่ เรื่องสุบิน วันคาร ทินวงศ์ สี่เสาร์ กระต่ายทอง พระรถเสนของนายเรืองนาใน และเรื่องเสือโคของพระมี
สมัยก่อนหนังสือนิทานชาดกและนิทานพื้นบ้านที่ใช้สวดด้านจะเขียนขึ้นเรียกว่า “หนังสือบุด” สมัยต่อมาไม่ได้สวดหนังสือบุด แต่กลับนิยมสวดหนังสือซึ่งพิมพ์โดยโรงพิมพ์ราษฎร์เจริญวัดเกาะ โดยคนสวดเช่ามาจากบ้านนายปลอด ซึ่งอยู่หลังวัดพระมหาธาตุ ในราคาเช่า 4 เล่ม 5 สตางค์ เรื่องที่นิยมสวด ได้แก่ รามเกียรติ์ พระอภัยมณี สุวรรณศิลป์ และสังข์ทอง หนังสือเรื่องสุบิน แต่งโดยกวีชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมสูงสุดของผู้ฟังการสวดด้าน และใช้เป็นหนังสือเรียนในนครศรีธรรมราชในสมัยก่อน

พิธีกรรม พิธีกรรมเริ่มขึ้นเมื่อพุทธศาสนิกชนนำปิ่นโตบรรจุอาหารคาวหวานและดอกไม้ธูปเทียนมานั่งรอเพื่อถวายพระสงฆ์และฟังเทศน์ ขณะนั่งรอ คนสวดด้านจะนำหนังสือร้อยกรอง นิทานชาดกที่เตรียมมาสวดให้ผู้ฟังได้ฟังและหยุดสวดด้านเมื่อพระสงฆ์เข้ามาในพระระเบียง ผู้สวดด้านและผู้ฟังจึงร่วมกันทำบุญในวันธรรมสวนะ

ประเพณีสวดด้านปัจจุบันสูญหายไปตามความเจริญในยุคโลกาภิวัตน์ แต่ก็ยังคงมีการเทศนาของพระสงฆ์อยู่ แต่มักจะแบ่งการเทศน์ออกเป็นวัดละด้าน ต่อมาพระที่มาเทศน์น้อยลงเรื่อย ๆ ในปัจจุบันจะมีพระเทศน์ในพระด้านอยู่เพียงธรรมมาสน์เดียว

ศาสนาเป็นบ่อเกิดความเชื่อ ความปลูกศรัทธาแก่ศาสนิกชน ให้จดจำยึดมั่นที่ฝังอยู่ไม่เสื่อมคลาย ความศรัทธาเชื่อมั่นเป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดแนวปฏิบัติทั้งหลาย ประพฤติปฏิบัติสืบต่อมาจนเป็นประเพณี ความศรัทธาพระพุทธศาสนาของชาวนครศรีธรรมราช จะเห็นได้จากการปฏิบัติกิจกรรมในประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีตักบาตรธูปเทียน ประเพณีลากพระและประเพณีสวดด้านดังกล่าวแล้ว

ความสำคัญของการเกิดประเพณี การไปฟังเทศน์ฟังธรรมเพื่ออบรมให้จิตใจผ่องใสเบิกบานนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทำให้เกิดความสงบสุข มีความคิดดีงามเกิดขึ้น ประเพณีการสวดด้านจึงมีที่มาจากการฟังเทศน์ฟังธรรมดังกล่าว ให้ความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติ ดังนี้

ผู้ฟัง ได้ฟังสาระจากการสวดหรืออ่านหนังสือ ได้ทั้งความรู้คติสอนใจ และความเพลิดเพลิน ส่วนผู้สวดได้ประโยชน์จากการอ่านหนังสือ นับเป็นภูมิปัญญาที่ชาญฉลาด ที่ช่วยให้คนรักการอ่านหนังสือและรู้จัดใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการฟังแก่เด็กนักเรียนได้ ได้ทราบข่าวความเป็นไปของบ้านเมือง เพราะวัดเป็นศูนย์รวมของจิตใจ ชาวบ้านทุกคนจะเข้าวัดไปทำบุญ ได้สนทนาเล่าเรื่องที่ตนประสบให้เพื่อนฟัง การรับรู้เหตุการณ์ทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะที่ไปทำบุญวัดเดียวกัน สร้างแบบอย่างให้แก่ลูกหลาน และมักจะนำเรื่องที่ตนได้ยินได้ฟังมาบอกเล่าแก่คนที่อยู่ที่บ้าน เช่น การฟังสวดด้านได้คติสอนใจจากนิทานที่ได้ฟังได้ยินมา ก็นำมาเล่าให้ลูกหลานฟังด้วย ทำให้รู้ดีรู้ชั่ว ประเพณีสวดด้านจึงมีประโยชน์เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก่การฟื้นฟูให้มีประเพณีการสวดด้านต่อไปเป็นการอนุรักษ์วรรณกรรมของชาวนครศรีธรรมราชในฐานะปราชญ์ชาวบ้าน ทั้งทางด้านภาษาและวรรณกรรมมาเป็นเวลายาวนานสมควรแก่การส่งเสริมให้มีการพัฒนาวรรณกรรมท้องถิ่นไว้เป็นมรดกของท้องถิ่นที่มีคุณค่ายิ่ง

Leave a comment